กำยาน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Frankincense
หรือ olibanum คือยางหอมที่ได้มาจากไม้สกุล “Boswellia”
โดยเฉพาะ “Boswellia sacra” ที่ใช้ในการทำเครื่องหอม
(incense) และน้ำหอมกำยานได้มาจากต้น Boswellia โดยการขูดเปลือกต้นไม้และปล่อยให้ยางซึมออกมาและแข็งตัว
ยางที่แข็งตัวนี้เรียกว่าน้ำตา
ไม้พันธุ์นี้มีด้วยกันหลายสปีชีส์แต่ละสปีชีส์ก็ผลิตยางต่างชนิดกัน
ขึ้นอยู่กับดินและอากาศ คุณภาพของยางก็ต่างกันออกไปแม้แต่ในสปีชีส์เดียวกัน ต้นกำยานถือเป็นพันธุ์ไม้ที่แปลกเพราะสามารถเจริญเติบโตได้ในภาวะสิ่งแวดล้อมที่ไม่น่าจะขึ้นได้
เช่น บางครั้งก็ดูเหมือนจะงอกออกมาจากหิน ต้นกำยานจะเริ่มออกยางเมื่ออายุราว 8-10 ปี การเก็บยางทำกันสองสามครั้งต่อปี
ครั้งหลังสุดจะเป็นยางที่มีคุณภาพดีที่สุด โดยทั่วไปแล้วยางยิ่งมีสีขุ่นเท่าไหร่ก็จะมีคุณภาพดีขึ้นเท่านั้น
กำยานที่มาจากโอมาน กล่าวกันว่าเป็นกำยานที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก
แต่กำยานที่มีคุณภาพดีก็มีที่เยเมนและทางฝั่งทะเลตอนเหนือของโซมาเลีย
คำว่า “กำยาน” มาจากภาษามาลายู “Kamyan” มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นของไทย เช่น สะด่าน
สาดสมิง เขว้ เป็นต้น เป็นชื่อไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Styrax
วงศ์ Styracaceae ลำต้นเปล่าตรง เรือนยอดโปร่ง
เปลือกสีเทา ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นรูปรี ปลายใบเรียวแหลม โคนโค้งมน ขอบใบเรียบ
หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบค่อนข้างหนา มีขนประปราย ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม
ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ผลมีลักษณะกลม สีเขียวอ่อน มีขนสั้นสีขาวปกคลุม เปลือกแข็ง มีฝาหรือมีหมวกปิดขั้ว
มีเมล็ด 1-2 เมล็ด เมื่อแห้งจะแตกเป็น 3 ส่วนยางของต้นกำยานจะให้สารสำคัญที่เรียกว่า ชันกำยาน
โดยเมื่อกรีดเปลือกต้นตามยาว ยางจะซึมออกมาตามรอยแผลที่กรีดไว้
และจะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศ ชันยางที่กรีดได้ครั้งแรกจะขาวบริสุทธิ์
และมีกลิ่นหอมมาก ชันยางของกำยานมีสรรพคุณมากมาย
ได้มีการนำเข้ามาใช้เข้าเครื่องยาและเครื่องสำอาง เช่น
ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคบางชนิด แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ห้ามเลือด ขับลม
บำรุงหัวใจ ลดความเครียด คลายวิตกกังวล ใช้ทำเครื่องหอม
เผารมเพื่อให้กลิ่นหอมไล่ริ้น ไร มด แมลง
นอกจากนี้
กำยานมักใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณเพื่อตกแต่งกลิ่นหรือกันบูด
ความหอมของกำยานทำให้ประเทศฝรั่งเศสนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมของตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น