กำลังพญาเสือโคร่ง หรืออีกชื่อหนึ่ง กำลังเสือโคร่ง เป็นสมุนไพรที่จัดว่าเป็นไม้หายากอีกชนิดหนึ่งที่คนรุ่นใหม่น้อยคนนักจะรู้จักหรือเคยพบเห็น ในอดีตต้นไม้ต้นนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่คนพื้นเมือง และชาวเขาที่เข้าไปเก็บของป่ามาขาย ให้ร้านยาไทยในเมืองหรือนำไปต้มน้ำรับประทานเองเป็นยาสมุนไพร
คงเป็นเรื่องธรรมดาที่ชาวบ้านสมัยก่อนจะนำเอาพันธุ์พืชชนิดต่างๆรอบตัวมาทำอาหารหรือยารักษาโรค
เป็นเพราะความเจริญที่ยังเข้ามาไม่ถึงบวกกับความรู้ที่ได้มาจากคำบอกต่อๆกันมาถึงรุ่นลุกรุ่นหลาน
ต้นกำลังพญาเสือโคร่งนั้นเดิมมีมากในภาคเหนือและอีสานแต่ปัจจุบันคงมีจำนวนผู้คนในแถบนั้นไม่มากที่ได้เจอหรือสัมผัสมัน
อย่างเช่น ระหว่างทางเดินขึ้นภูสอยดาวนั้นมีชื่อเนินหนึ่ง เนินเสือโคร่ง
เจ้าหน้าที่อุทยานบอกเหตุผลที่ชื่อนี้เพราะ
เมื่อก่อนมีต้นกำลังพญาเสือโคร่งในพื้นที่แถวเนินนี้เป็นจำนวนมาก แต่ที่ผ่านมามีชาวบ้านมาตัดไปทำเป็นทำยาสมุนไพรชูกำลังบ้างหรือไม่ก็ทำเป็นไม้กระดานบ้านบ้าง
จึงไม่เหลือต้นไม้มีชื่อนี้ให้เห็นอีกเลย
สรรพคุณที่มีมหาศาลของต้นกำลังพญาเสือโคร่งนั้น
ถือได้ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ โดยเปลือกไม้ (ซึ่งเปลือกต้นจะมีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง
กลิ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ แต่ถ้าทิ้งไว้จนเปลือกแห้งกลิ่นหอมจะระเหยไปจนหมด)
ต้มกับน้ำเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้
บำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง ที่สำคัญแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดีมาก
ช่วยชำระล้างไตให้สะอาด
ต้นไม้ต้นนี้ยังมีคุณกับเพศหญิงโดยเฉพาะ
สำหรับผู้หญิงที่ไม่สมบูรณ์ทางร่างกาย มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภายใน
มดลูกไม่แข็งแรงหรือช้ำ อักเสบเนื่องจากการกระทบกระเทือน แท้งบุตร
สามารถนำเอาเปลือกต้นถากออกจากลำใส่ภาชนะต้มน้ำให้เดือด เคี่ยวไฟอ่อนๆ
รับประทานต่อเนื่อง ระบบต่างๆที่มีปัญหาจะหายเป็นปลิดทิ้ง
ตำรายาพื้นบ้านภาคอีสาน
ยังใช้เนื้อไม้ของกำลังเสือโคร่งผสมกับต้น ม้าโรงแตก หรือ ม้ากระทืบโรงตัวผู้
ลำต้นข้าวหลาม แก่นหรือรากเจ็ดช้างสารใหญ่ ลำต้นกำลังช้างสารจำนวนเท่ากัน
เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลังทางเพศ ใช้ดองกับสุราจะเป็นสีแดง
ยิ่งเข้มเท่าไหร่ยิ่งแรงขึ้นทวีคูณ ต้มหรือดองได้ถึง3-4 ครั้งจนกว่าจะหมดสี
คงเป็นเพราะสรรพคุณอันน่าเหลือเชื่อกระมังที่ทำให้ต้นไม้ใหญ่กลับกลายเป็นซากแห้ง
ทิ้งไว้เหลือเพียงชื่ออันทรงพลังไว้ให้ลูกหลานเพียงได้ยิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น