กลิ่นอำพัน หรืออำพันทอง (ambergris)




        กลิ่นอำพัน หรืออำพันทอง (ambergris) เป็นารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกับอำพัน เป็นสิ่งที่ได้มาจากทะเลและมหาสมุทร โดยเป็นผลิตผลจากสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ คือ วาฬ ชนิด วาฬสเปิร์ม มีลักษณะเด่น คือ มีกลิ่นหอมในยุคโบราณชาวตะวันตกเชื่อว่า อำพันทะเลเกิดจากวาฬกลืนน้ำสีดำจากแม่น้ำสีดำแถบตะวันออกกลางที่มีกลิ่นหอม ชาวเปอร์เซียเรียกว่า "อันบาร์" (Anbar) เมื่อแพร่หลายไปยังยุโรป ชาวฝรั่งเศสจึงเรียกว่า "Amber gris" ที่หมายถึง "อำพันสีเทา" เพื่อแยกแยะจากอำพันอย่างอื่นทั่วไป
อำพันทะเล เป็นผลิตผลที่มาจากการสำรอกหรือการขับถ่ายของวาฬสเปิร์ม มีลักษณะเป็นของแข็งซึ่งเป็นก้อนไขมันมีหลายเฉดสีตั้งแต่สีเทาหรือสีดำ ไปจนถึงสีโทนอ่อนอย่้าง สีส้มหรือสีขาวคล้ายหินอ่อน ที่พบเฉพาะในลำไส้ของวาฬสเปิร์ม มีส่วนประกอบของคลอเรสเตอรอลและไขมันร้อยละ 80, สารเบนโซอิก และแอลกอฮอล์เชิงซ้อนทำให้มีกลิ่นหอม โดยวาฬสเปิร์มจะกินสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหมึกเป็นอาหารหลัก แต่จะกินเข้าไปโดยไม่มีการเคี้ยวอย่างละเอียดสัตว์บก แต่จะใช้วิธีการกลืนเข้าไปทั้งตัวแล้วไปย่อยสลายในกระเพาะ แต่คลอเรสเตอรอลของหมึกไม่อาจจะย่อยได้ง่าย ประกอบกับหมึกมีปากที่แข็งระคายเนื้อเยื่อของวาฬ คลอเรสเตอรอลดังกล่าวจึงไปสะสมเป็นก้อนอยู่ในลำไส้ของวาฬ ซึ่งขณะอยู่ในลำไส้ของวาฬ จะไม่มีกลิ่นหอม แต่จะมีกลิ่นเหม็นเหมือนสิ่งขับถ่ายทั่วไป และมีลักษณะเป็นก้อนสีดำมีความนิ่ม แต่เมื่อวาฬได้ขับถ่ายออกมาแล้วได้เกิดปฏิกิริยากับสายลมและแสงแดด นานนับปี โดยล่องลอยอยู่ในทะเล ด้วยค่าความถ่วงจำเพาะที่มีน้อยกว่าน้ำทะเลจึงมีคุณสมบัติทางเคมีเปลี่ยนไป ทำให้มีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาว, น้ำตาล, เทา หรือดำ ตามระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา ละลายที่อุณหภูมิมากกว่า 62 องศาเซลเซียส แต่ด้วยอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียสจะระเหยเป็นไอ 
อำพันทะเล นับเป็นของมีค่า ราคาแพง และหาได้ยากยิ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีประโยชน์ในการทำเป็นหัวน้ำหอมและเครื่องสำอาง หรือนำไปแต่งกลิ่นในอาหารหรือไวน์ สำหรับตำราสมุนไพรไทยใช้ทำยาได้ ทำให้มีราคาซื้อขายกิโลกรัมละหลายหมื่นบาท
วิธีการหาอำพันทะเล กระทำได้ 2 แบบ คือ รอให้ลอยมาติดตามชายฝั่งหรือล่องเรือออกไปหากลางทะเล และออกล่าวาฬ แล้วผ่าท้องหาจากลำไส้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการล่าวาฬ ซึ่งปัจจุบันมีการคุ้มครองตามกฎหมาย







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น